
สศค. ประเมินจีดีพีปีนี้ ติดลบ 8.5% ต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ เหตุโควิด-19 กระทบศก. ฟากส่งออกคาดทรุดหนัก 11% - นักท่องเที่ยวติดลบ 82.9% ส่วนปี 64 คาดศก.กลับมาขยายตัวได้ 4-5%
นายลวรณ แสงสนิท ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เปิดเผยรายงานประมาณการเศรษฐกิจไทยปีนี้ว่า สศค.ปรับประมาณการอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (จีดีพี) ปีนี้เป็นติดลบ 8.5% โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ติดลบ 8-9% ลดลงจากประมาณการเดิมที่คาดจะขยายตัวได้ 2.8%
สำหรับการประมาณการครั้งนี้ เป็นตัวเลขที่ต่ำสุดในประวัติการณ์ และต่ำกว่าตอนวิกฤติเศรษฐกิจต้มยำกุ้ง เมื่อปี 41 ที่จีดีพีติดลบ 7.6% ทั้งนี คาดว่าเศรษฐกิจไทยจะกลับมาขยายตัวได้ 4-5% ในปี 64
“ในการฟื้นตัวนั้น สศค.มองสอดคล้องกับ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ที่คาดว่าจะฟื้นตัวเป็นเครื่องหมายถูก โดยเป็นการฟื้นตัวแบบค่อยเป็นค่อยไป และสศค.พร้อมออกมาตรการที่เหมาะสมในแต่ละช่วงเวลาเพื่อดูแลและเยียวยาผลกระทบจากโควิด-19 ด้วย”นายลวรณ กล่าว
สำหรับการส่งออกคาดว่าปีนี้จะติดลบ 11% และกลับมาขยายตัวได้ 5% ในปี 64 ขณะที่การนำเข้าปีนี้คาดว่าจะติดลบ 14.2% โดยสาเหตุหลักมาจากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา (โควิด-19) ส่งผลให้นักท่องเที่ยวต่างชาติและเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าหดตัวลง
ด้านการท่องเที่ยวในปีนี้คาดว่า จะมีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาไทย 6.8 ล้านคน ติดลบ 82.9% และคาดว่าในปีหน้าจะมีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้าไทย 15-16 ล้านคน นอกจากนี้การบริโภค คาดว่าจะติดลบ 2.6% และการลงทุนภาคเอกชนคาดติดลบ 12.6%
อย่างไรก็ตาม การใช้จ่ายของภาครัฐคาดว่าจะขยายตัวได้ต่อเนื่อง ทั้งการเร่งเบิกจ่ายงบประมาณ การโอนงบประมาณ ตามพ.ร.บ.โอนงบประมาณรายจ่ายปี 63 และพ.ร.ก.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยาและฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของไวรัสโควิด-19 โดยมีกรอบวงเงินกู้ไม่เกิน 1 ล้านล้านบาท
ทั้งนี้ คาดว่าการบริโภคภาครัฐจะขยายตัว 4.3% และการลงทุนภาครัฐจะขยายตัวได้ 9.7% อย่างไรก็ตาม คาดว่าเศรษฐกิจไทยจะฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป หลังภาคธุรกิจเริ่มกลับมาดำเนินการได้ ส่งผลให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจมีมากขึ้น ประกอบกับมาตรการดูแลและเยียวยาจากไวรัสโควิด-19 ของรัฐบาล ระยะที่ 1-3 และมาตรการเราเที่ยวด้วยกัน
“เศรษฐกิจไทยได้ผ่านจุดต่ำสุดมาแล้วในไตรมาส 2 ที่ผ่านมาคาดว่าจะติดลบเป็นตัวเลข 2 หลัก และจะเห็นการติดลบน้อยลงในช่วงครึ่งปีหลัง สิ่งที่ต้องติดตาม วันนี้มีสัญญาณบวกเรื่องวัคซีน ผลของการทดลองเป็นอย่างไร และเราคาดว่าไม่เกินกลางปีหน้าจะมีวัคซีนออกมา ทำให้โควิด-19 คลี่คลาย ซึ่งถ้าคลี่คลายเราหวังว่าปัจจัยบวกที่จะดูแลเศรษฐกิจ คือ การผ่อนคลายการเดินทางจากต่างประเทศ จะมีผลต่อนักท่องเที่ยว”นายลวรณ กล่าว
สำหรับเสถียรภาพไทยภายในประเทศ คาดว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปปีนี้คาดว่าจะติดลบ 1.3% ปรับตัวลดลงจากปีก่อน ตามแนวโน้มราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่ปรับตัวลดลง และอุปสงค์ภายในประเทศที่ชะลอตัวลง ขณะที่เงินเฟ้อพื้นฐานคาดว่าจะอยู่ที่ 0.2% ด้านดุลบัญชีเดินสะพัดปีนี้คาดว่าจะเกินดุล 13.3 พันล้านดอลลาร์
นายลวรณ กล่าวว่า สำหรับการประมาณการเศรษฐกิจในครั้งนี้ บนพื้นฐานสมมติฐาน 5 ข้อ ประกอบด้วย 1.อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ 15 ประเทศคู่ค้า ที่คาดว่าจะติดลบ 4.1% ในปีนี้ 2.คาดการณ์ค่าเงินบาทปีนี้เฉลี่ยที่ 31.7 บาทต่อดอลลาร์ 3.ราคาน้ำมันดิบดูไบ ที่คาดว่าจะเฉลี่ยที่ 42 ดอลลาร์ต่อบาเรล 4.จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้ามา 6.8 ล้านคน และรายได้จากนักท่องเที่ยวลดลง 3.4 แสนล้านบาท และ 5.รายจ่ายภาคสาธารณะ โดยคาดว่าจะเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายที่ 93.3% รายจ่ายประจำ 99.7% และรายจ่ายลงทุน 60%
ด้านปัจจัยการเมือง ยืนยันว่า การประเมินภาพรวมเศรษฐกิจนั้น จะพิจารณาปัจจัยด้านเศรษฐกิจเป็นหลัก โดยไม่ได้นำปัจจัยทางการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้อง ขณะที่ประเมินอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 0.5%
“ปัจจุบันสถานการณ์เศรษฐกิจมันเริ่มฟื้นตัว ดังนั้นการจ่ายเงินเยียวยาคงไม่ได้มีการขยายเพิ่มเติม เนื่องจากเราคงต้องเก็บกระสุนไว้ใช้ในยามที่จำเป็นจริงๆ แต่ทั้งนี้ สศค.พร้อมรับข้อเสนอภาคเอกชนที่ต้องการให้มาตรการช้อปช่วยชาติในไตรมาส 3”นายลวรณ กล่าว
นายวุฒิพงศ์ จิตตั้งสกุล ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะรองโฆษกกระทรวงการคลัง กล่าวว่า เศรษฐกิจไทยในเดือนมิ.ย. ยังมีแนวโน้มชะลอตัว แต่ปรับดีขึ้นจากเดือนก่อน โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่มากขึ้น หลังจากรัฐบาลที่ประกาศคลายล็อกกิจการกิจกรรมมากขึ้น
โดยการบริโภคภาคเอกชนมีสัญญาณฟื้นตัว สะท้อนจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ระดับราคาคงที่กลับมาขยายตัวได้ 3.4% สอดคล้องกับดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเริ่มปรับตัวดีขึ้นเป็นเดือนที่ 2 ติดต่อกันมาอยู่ที่ 41.4 หลังจากรัฐผ่อนคลายมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา (โควิด-19) ประกอบกับผลของมาตรการเยียวยาผลกระทบจากไวรัสดังกล่าว ช่วยให้การจับจ่ายใช้สอยดีขึ้น
ด้านการลงทุนภาคเอกชนมีสัญญาณดีขึ้น โดยการลงทุนภาคเอกชนในหมวดเครื่องมือเครื่องจักร เช่นเดียวกับการลงทุนในหมวดก่อสร้างที่ปรับดีขึ้น สะท้อนจากปริมาณจำหน่ายปูนซีเมนต์กลับมาขยายตัวที่ 4.3%
ขณะที่การค้าระหว่างประเทศ ในเดือนมิ.ย. ติดลบ 23.2% จากการลดลงของการส่งออกสินค้าในหมวดสำคัญ เช่น หมวดรถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ หมวดสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน เป็นต้น ด้านการนำเข้าติดลบ 18.1% ส่งผลให้ดุลการค้าเกินดุล 1.61 พันล้านดอลลาร์ ส่วนอุตสาหกรรมและภาคการท่องเที่ยวยังชะลอตัว
ด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจภายในประเทศ โดยอัตราเงินเฟ้อทั่วไปติดลบ 1.6% ต่อปี และอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ 0% ขณะที่สัดส่วนหนี้สาธารณะ ณ สินเดือนพ.ค. อยู่ที่ 44% ซึ่งยังอยู่ภายใต้กรอบวินัยการเงินการคลังที่ตั้งไว้
ส่วนเสถียรภาพนอกประเทศยังอยู่ในระดับที่มั่นคง สามารถรองรับความเสี่ยงจากความผันผวนของเศรษฐกิจโลกได้ สะท้อนจากทุนสำรองระหว่างประเทศ ณ สิ้นเดือนมิ.ย. อยู่ในระดับสูง ที่ 241.6 พันล้านดอลลาร์
July 30, 2020 at 02:38PM
https://ift.tt/3gi25Dq
สศค.หั่นจีดีพีเป็นติดลบ 8.5% ต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ ส่งออกดิ่ง 11% - efinanceThai
https://ift.tt/3bS8L8L
Bagikan Berita Ini
0 Response to "สศค.หั่นจีดีพีเป็นติดลบ 8.5% ต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ ส่งออกดิ่ง 11% - efinanceThai"
Post a Comment