Search

คอลัมน์ผู้หญิง - SDG3-ส่งเสริมความเป็นอยู่ สุขภาพ ที่ดีของทุกคน - หนังสือพิมพ์แนวหน้า

dihyangbagus.blogspot.com

ในปี ค.ศ.2015 องค์กรสหประชาชาติและทุกประเทศได้ตกลงร่วมกันให้มีเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน หรือ Sustainable Development Goals : SDGs โดยจะทำให้บรรลุเป้าหมายในปี ค.ศ.2030 หรือ พ.ศ.2573 หรืออีก 10 ปีข้างหน้า

ผมได้ให้ 17 หัวข้อของ SDGs ไปแล้วในคราวที่แล้ว คราวนี้ขอลงลึกทางด้าน SDG3 หรือการส่งเสริมความเป็นอยู่ สุขภาพที่ดีของทุกๆ คน SDG3 มีหัวข้อย่อย 9 หัวข้อ ซึ่งผมได้เขียนไปแล้ว วันนี้จะขอพูดถึงหัวข้อย่อยที่ 3.8 ซึ่งสำหรับผมคือหัวใจของการมีสุขภาพที่ดี และถ้าทำให้ดี จะครอบคลุมทุกหัวข้อย่อยตั้งแต่ 3.1 จนถึง 3.9


SDG 3.8 คือ บรรลุการมีหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (Universal Health Coverage) รวมถึงการป้องกันความเสี่ยงทางการเงิน การเข้าถึงการบริการสาธารณสุขที่จำเป็น ที่มีคุณภาพ และเข้าถึงยา และวัคซีนที่จำเป็น ที่ปลอดภัย มีประสิทธิภาพ มีคุณภาพ และมีราคาที่สามารถซื้อหาได้

UHC คืออะไร ต้องย้อนกลับไปเมื่อ ค.ศ.1948 เมื่อ UN ประกาศว่า Health is human right หรือ การมีสุขภาพดีเป็นสิทธิมนุษยชน ต่อมาในปี ค.ศ.1978 UN ได้ประกาศให้มี “Health for All” ภายใน ค.ศ.2000 ฯลฯ

เป้าหมายหลักของ UHC คือทำให้ทุกคน ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนเมื่อไหร่ ทุกระดับ ไม่ว่าจะเป็นคนรวย คนจน เชื้อชาติอะไร เข้าถึงบริการสาธารณสุขที่คนนั้นมีความจำเป็น ต้องเป็นระบบสาธารณสุขที่มีประสิทธิภาพ ครบเครื่อง รวมถึงการเข้าถึงยา วัคซีนที่จำเป็น โดยต้องไม่ทำให้ผู้นั้นมีปัญหาทางด้านการเงิน ระบบสาธารณสุขนั้นรวมถึงการสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค ควบคุมโรควินิจฉัย รักษา ฟื้นฟู และการรักษาโรคแบบประคับประคองด้วย

ปัจจุบันนี้มีประชาชนในโลกอย่างน้อยครึ่งหนึ่ง (ทั่วโลกมีประชากรประมาณ 7,800 ล้านคน ณ 20/8/2563) ที่ยังเข้าไม่ถึงระบบสาธารณสุขที่มีประสิทธิภาพ ที่เขามีความจำเป็นต้องเข้าถึง และมีประชาชนประมาณ 100 ล้านคน ทุกปีที่ต้องกลายเป็นคนยากจนมาก (extreme poverty) เพราะต้องเสียค่าใช้จ่าย ค่าดูแลสุขภาพด้วยตนเอง และมีประชาชนโลกมากกว่า 930 ล้านคน (12% ของประชากรโลก) ที่ใช้จ่ายอย่างน้อย 10% ของรายจ่ายประจำครอบครัวเพื่อสุขภาพ

การที่จะทำให้ทุกๆ คนมีสุขภาพที่ดีได้ จะต้องให้ทุกๆ คน ชุมชน มีโอกาสเข้าถึงระบบสาธารณสุขที่มีประสิทธิภาพ และจะต้องมีบุคลากรสาธารณสุขที่มีคุณภาพ อย่างเพียงพอ ในช่วง 2000-2015 (ช่วง Millennium Development Goals) องค์การอนามัยโลกตั้งเกณฑ์ไว้ว่าควรจะมีบุคลากรทางสาธารณสุขอย่างน้อย 22.8 คนต่อประชากร 10,000 คน ต่อมาในปี 2016 WHO ได้เพิ่มเป็น 44.5 คน ซึ่งในปี 2017 ประเทศไทยยังมีไม่ถึงตัวเลขนี้ บุคลากรทางด้านสาธารณสุข คือ แพทย์ พยาบาล พยาบาลผดุงครรภ์ ฯลฯ

ปี 2013 ทั่วโลกมีบุคลากรทางด้านสาธารณสุข 43 ล้านคนเป็นแพทย์ 2.6 ล้านคน พยาบาล พยาบาลผดุงครรภ์ 9 ล้านคน ฯลฯประเทศในภาคตะวันออกเฉียงใต้ของเอเชีย (South East Asia) ยังขาดบุคลากรทางสาธารณสุข 6.9 ล้านคน

WHO กล่าวว่าภายใน 2030 ทั่วโลกจะขาดบุคลากรทางด้านสาธารณสุข 18 ล้านคน (พยาบาล พยาบาลผดุงครรภ์ 9 ล้านคน)

การดูแลประชาชนและชุมชนต้องมีเป้าหมายให้ประชาชน ชุมชน เป็นที่ตั้ง รัฐบาล ผู้นำประเทศ หรือผู้ที่กำหนดนโยบาย จะต้องเห็นความสำคัญและกล้าลงทุนใน UHC การที่จะทำให้ UHC ประสบความสำเร็จได้จะต้องมีระบบสาธารณสุขปฐมภูมิที่เข้มแข็งในชุมชน ที่ต้องดูแลประชาชนตั้งแต่เกิดจนตายในทุกๆ เรื่องของสุขภาพ ตั้งแต่การส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค การควบคุมโรค การวินิจฉัย การรักษา การฟื้นฟู การรักษาแบบประคับประคอง ชุมชนมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อสุขภาพของประชาชนทุกๆ คน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกี่ยวกับการระบาดของโรคเพราะการระบาดจะเกิดขึ้นในชุมชน ถ้าทุกๆ คนมีความรู้เรื่องระบาดวิทยา การแพร่เชื้อ ก็สามารถรู้ได้ทันทีว่าในชุมชนนั้นๆ มีประชาชนคนไหน กลุ่มไหน ที่มีอาการไม่สบาย ที่ผิดปกติ จะได้รีบแจ้งเหตุให้บุคลากรทางสาธารณสุขรับทราบ และดำเนินการต่อไปอย่างรวดเร็ว เหมาะสม

แต่ UHC ไม่ได้หมายความว่าประชาชนจะเข้าถึงทุกอย่างของการให้บริการสาธารณสุขฟรีหมด เพียงแต่เข้าถึงบริการที่สำคัญและจำเป็นเท่านั้น เพราะไม่มีประเทศไหนในโลกที่มีงบประมาณพอที่จะทำอย่างนี้ได้อย่างยั่งยืน แต่เมื่องบประมาณมีมากขึ้น มีความก้าวหน้าทางด้านการแพทย์ เทคโนโยลีมากขึ้น เมื่อนั้น UHC ควรขยายสิทธิประโยชน์ที่สำคัญ จำเป็น เพิ่มให้ประชาชน

สุขภาพ การศึกษา การทำงาน เศรษฐกิจ สังคมทุกอย่างโยงไปหมด ถ้าสุขภาพไม่ดี ก็จะเรียน ทำงาน ไม่ได้เรียน ทำงานไม่ได้ ก็ไม่มีรายได้หรือมีไม่เพียงพอ เศรษฐกิจประเทศ สังคม ก็จะมีปัญหาไปด้วย สุขภาพที่ดีจะช่วยยกประชาชนให้พ้นจากความยากจน เมื่อนั้นจะทำให้ประเทศชาติ “มั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน”

นพ.พินิจ กุลละวณิชย์

Let's block ads! (Why?)




August 30, 2020 at 02:00AM
https://ift.tt/34JRL41

คอลัมน์ผู้หญิง - SDG3-ส่งเสริมความเป็นอยู่ สุขภาพ ที่ดีของทุกคน - หนังสือพิมพ์แนวหน้า

https://ift.tt/3bS8L8L


Bagikan Berita Ini

0 Response to "คอลัมน์ผู้หญิง - SDG3-ส่งเสริมความเป็นอยู่ สุขภาพ ที่ดีของทุกคน - หนังสือพิมพ์แนวหน้า"

Post a Comment

Powered by Blogger.