โพล ชี้ "บิ๊กตู่" ไม่สังกัดพรรคการเมืองใด ส่งผลดีกว่า กว่าร้อยละ 16.7 เลือกพรรคก้าวไกลคะแนนเพิ่ม ขณะคนส่วนใหญ่ ต้องการเลือกพรรคที่ทำการเมืองแบบใหม่ มากกว่าแบบเดิมที่กำลังจะไปไม่รอด
สำนักวิจัย ซูเปอร์โพล นำเสนอผลสำรวจภาคสนาม เรื่อง ถ้าวันนี้เลือกตั้งพรรคใดชนะ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยซูเปอร์โพล (SUPER POLL) เสนอผลสำรวจภาคสนาม เรื่อง ถ้าวันนี้เลือกตั้งพรรคใดชนะ กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศ โดยดำเนินการเก็บข้อมูลแบบผสมผสาน (Mixed Method) ทั้งการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ การลงพื้นที่และการเก็บข้อมูลในโลกโซเชียลทั้งการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) จำนวน 1,075 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการระหว่าง 3 – 5 ก.ค. ที่ผ่านมา พบว่า ร้อยละ 47.0 ติดตามข่าวการเมืองบ่อยๆ ถึง บ่อยที่สุด ร้อยละ 34.9 ระบุติดตามน้อย และร้อยละ 18.1 ไม่ได้ติดตามเลย
ที่น่าพิจารณาคือ ความเชื่อมั่นของประชาชนภายหลังจากที่พรรคพลังประชารัฐ เปิดเผยคนที่จะให้ดูแลงานด้านเศรษฐกิจ พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 67.3 ระบุแย่ลงกว่า ทีมเดิม ในขณะที่ร้อยละ 32.7 ระบุว่า ดีกว่า ทีมเดิม ตามลำดับ
อย่างไรก็ตาม เมื่อสอบถามถึงการสนับสนุน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีแก้ปัญหาวิกฤติต่างๆ ของประเทศและประชาชน พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 56.9 สนับสนุน ในขณะที่ร้อยละ 43.1 ไม่สนับสนุน
ที่น่าสนใจคือ เมื่อถามถึง ส.ส.ของพรรคการเมืองที่เคยเลือกในการเลือกตั้งครั้งก่อนในปี 2562 พบว่า ร้อยละ 18.9 ระบุ พรรคเพื่อไทย ร้อยละ 16.6 ระบุ พรรคพลังประชารัฐ ร้อยละ 15.1 ระบุพรรคอนาคตใหม่ ร้อยละ 11.7 ระบุ พรรคประชาธิปัตย์ ร้อยละ 7.2 ระบุ พรรคภูมิใจไทย และร้อยละ 2.6 ระบุ พรรคชาติไทยพัฒนา ตามลำดับ
แต่เมื่อถามถึง ส.ส.ของพรรคการเมืองที่จะเลือก ถ้าวันนี้เลือกตั้ง พบว่า ร้อยละ 16.7 จะเลือกพรรคก้าวไกล เพิ่มขึ้นเล็กน้อย จากพรรคอนาคตใหม่ชื่อเดิม รองลงมาคือร้อยละ 15.7 ระบุ พรรคเพื่อไทย ลดลงเล็กน้อย ในขณะที่ร้อยละ 8.7 ระบุพรรคประชาธิปัตย์ และร้อยละ 8.3 ระบุ พรรคพลังประชารัฐ ซึ่งทั้งสองพรรคได้รับความนิยมลดลงอย่างมีนัยสำคัญ ในขณะที่พรรคภูมิใจไทยได้ร้อยละ 6.0 อย่างไรก็ตาม จำนวนมากหรือร้อยละ 41.2 ระบุอื่นๆ เช่น ต้องการเลือกพรรคการเมืองที่ทำ “การเมืองใหม่” และบางส่วนจะเลือกพรรคการเมืองอื่นๆ ตามลำดับ
ผอ.ซูเปอร์โพล กล่าวว่า ผลโพลชี้ให้เห็นว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ไม่ได้สังกัดพรรคการเมืองใดๆ กลับกลายเป็นผลดีที่ทำให้สามารถเลือกใช้บริการพรรคการเมืองต่างๆ ได้ โดยจะใช้บริการพรรคการเมืองแบบเก่าที่กำลังจะไปไม่รอด หรือ พรรคการเมืองที่เป็น “การเมืองใหม่” ที่ประชาชนกำลังอยากลอง ถึงแม้ยังไม่เคยทำงาน แต่พูดเก่ง มีลีลาโดนใจ ถ้าถึงเวลานั้น นายกรัฐมนตรี ยังเป็นที่นิยมอยู่คงต้องเปลี่ยนการใช้บริการพรรคการเมืองที่เป็น ฐานวิถีชีวิตการเมืองใหม่ (New Normal) ที่ไม่วุ่นวาย ไม่แย่งตำแหน่ง ไม่ทรยศ ไม่เสร็จนาฆ่าโคถึก แต่ตั้งใจทำงานจริง ตอบโจทย์ตรงเป้าความต้องการของประชาชนได้แท้จริง ที่ไม่ใช่พรรคการเมืองกลุ่มเดิมนี้แล้ว และตอนนั้น 3 ป.จะเหลือใครบ้างน่าติดตามจริง
อ่านเพิ่มเติม...
July 05, 2020 at 09:42AM
https://ift.tt/2Zxo5TG
"บิ๊กตู่" ไม่สังกัดพรรคใด ส่งผลดี-คนอยากเลือกพรรค ทำการเมืองแบบใหม่ - ไทยรัฐ
https://ift.tt/3bS8L8L
Bagikan Berita Ini
0 Response to ""บิ๊กตู่" ไม่สังกัดพรรคใด ส่งผลดี-คนอยากเลือกพรรค ทำการเมืองแบบใหม่ - ไทยรัฐ"
Post a Comment