Search

เศรษฐกิจติดลบไม่ถึง 10% นายกรัฐมนตรีเทียบไทยดีกว่าหลายชาติที่หดตัว 20-30% - ไทยรัฐ

dihyangbagus.blogspot.com

“บิ๊กตู่” ชี้จากนี้ไปหวังพึ่งพาเศรษฐกิจภายนอกยาก ทั้งส่งออกและท่องเที่ยวมีปัญหา ต้องหันมาส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากภายในประเทศ ชวนคนไทยใช้โอกาสในการพลิกฟื้นประเทศให้กลับมาดีกว่าเดิม ชวน “รวมไทยสร้างชาติ” วันนี้เราต้องรอด วันหน้าเราต้องเข้มแข็งกว่าเดิม

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและ รมว.กลาโหม กล่าวปาฐกถาพิเศษ Bangkok Post Forum 2020 : “พลิกฟื้นประเทศไทย : ก้าวต่อไปอย่างมั่นคง” ว่า ตั้งแต่เข้ามารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเมื่อปี 2557 ได้เห็นเศรษฐกิจไทยปรับตัวดีขึ้นตามลำดับ จากเดิมที่การขยายตัวทางเศรษฐกิจในปี 2557 อยู่ที่เพียง 1.0% และเริ่มเพิ่มขึ้นเป็น 3.1% และ 3.4% ในปี 2558 และ 2559 ตามลำดับ และเติบโตต่อเนื่อง จนปี 2563 ที่เศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทยต้องเผชิญกับวิกฤตการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้ประเทศต่างๆต้องดำเนินมาตรการควบคุมการระบาดที่เข้มงวด ใช้มาตรการล็อกดาวน์ (ปิดเมือง) ส่งผลให้เศรษฐกิจในหลายประเทศหดตัวต่อเนื่องจนเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอย และหลายประเทศขยายตัวต่ำสุดเป็นประวัติการณ์นับตั้งแต่วิกฤติการเงินโลกในปี 2552 องค์กรระหว่างประเทศหลายแห่งคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจโลกจะยังชะลอตัวไปอีก 1-2 ปี

“ผลงานของรัฐบาลที่ใช้ทั้งกำลังเงินและแรงกายในการให้ความช่วยเหลือประชาชน ได้ออกพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา-2019 พ.ศ. 2563 วงเงิน 1 ล้านล้านบาท ส่งผลให้เศรษฐกิจไทยในปีนี้ คาดว่า จะขยายตัวติดลบไม่ถึง 10% ซึ่งดีกว่าประเทศอื่นๆในโลก เพราะบางประเทศเศรษฐกิจติดลบ 20-30% ดังนั้น จากนี้ไปนโยบายทางด้านเศรษฐกิจที่ได้ดำเนินการไปแล้วก่อนหน้านี้ ก็จะดำเนินการต่อไป ทั้งในเรื่องของการช่วยเหลือผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) เศรษฐกิจฐานรากและการช่วยเหลือประชาชนภาคการเกษตร เพราะรัฐบาลต้องช่วยเหลือและต้องอยู่รอดไปได้ด้วยกัน”

ส่วนภาคการส่งออก ยอมรับว่าไทยต้องหาตลาดส่งออกทดแทนตลาดเดิม และใช้จุดเด่นสินค้าที่เรามีความได้เปรียบอย่างสาธารณสุข เครื่องมือแพทย์ สินค้าเกษตรเพื่อสร้างโอกาสในการสร้างเศรษฐกิจในประเทศ เพิ่มการจ้างงาน การช่วยเหลือเอสเอ็มอี ขณะที่เรื่องหนี้สินภาคครัวเรือนก็ต้องจับตา เพราะขณะนี้หนี้ครัวเรือนที่เป็นส่วนบัตรเครดิต หนี้เพื่อการบริโภคก็สูงถึง 40% ส่วนอีก 60% ที่เป็นหนี้จากการซื้อรถ ที่อยู่อาศัย และหนี้เพื่อการสร้างอาชีพส่วนนี้ต้องดูว่าจะให้ความช่วยเหลือลดภาระประชาชนได้อย่างไร รวมถึงการจัดการหนี้เดิมที่มีอยู่ อาทิ มาตรการพักเงินต้น ลดดอกเบี้ยและขยายระยะเวลาชำระหนี้แก่ลูกหนี้ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ทั้งนี้ เพื่อบรรเทาผลกระทบให้ประชาชนสามารถดำรงชีพอยู่ได้ในช่วงของการแพร่ระบาดของโควิด-19

“วิกฤติในครั้งนี้ไม่เหมือนกับวิกฤติที่ไทยเคยประสบมาในอดีต ที่ส่วนใหญ่เป็นวิกฤติเศรษฐกิจที่มาจากภาคการเงินเป็นสำคัญหรือส่งผลกระทบเฉพาะบางประเทศหรือบางภูมิภาคเท่านั้น เช่น วิกฤติต้มยำกุ้ง และวิกฤติแฮมเบอร์เกอร์ ดังนั้น การฟื้นฟูเศรษฐกิจในครั้งนี้จึงหวังพึ่งพาปัจจัยภายนอกอย่างที่ผ่านมาไม่ได้ โดยเฉพาะในภาคการท่องเที่ยวและการส่งออก ไทยจึงจำเป็นต้องหันกลับมาเร่งส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากภายในประเทศให้แข็งแกร่ง เพื่อชดเชยความต้องการสินค้าและบริการจากภายนอกในช่วงที่ทั่วโลกยังประสบวิกฤติอยู่”

และท้ายที่สุดคือ เรื่องทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมและภัยทางธรรมชาติ ซึ่งเป็นเรื่องที่รัฐบาลให้ความสำคัญอย่างเสมอมา เนื่องจากทรัพยากรธรรมชาติเป็นปัจจัยพื้นฐานของทุกภาคการผลิต ภาคอุตสาหกรรม ซึ่งการพัฒนาเหล่านี้ นับเป็นการเดินหน้าที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีและแผนปฏิรูปประเทศที่รัฐบาลได้วางแผนการดำเนินงานมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างความแข็งแกร่งให้กับเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ และที่สำคัญรัฐบาลจะเร่งปรับปรุงวิธีการทำงานของภาครัฐและให้ประชาชนมีส่วนร่วมมากขึ้น เช่น ผลกระทบจากโควิด-19 ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอะไรบ้าง แผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ก็ต้องปรับเปลี่ยนไปได้ โดยรับฟังความคิดเห็นของประชาชน และติดตามประเมินผลการดำเนินงานของส่วนราชการต่างๆเพื่อให้เห็นผลอย่างเป็นรูปธรรม พลิกฟื้นเศรษฐกิจสอดรับกับวิถีปกติใหม่ (New Normal)

“ผมเห็นว่าควรต้องใช้วิกฤติครั้งนี้เป็นโอกาสในการพลิกฟื้นประเทศให้กลับมาดีกว่าเดิม ซึ่งต้องการความร่วมแรงร่วมใจของพี่น้องประชาชนจากทุกภาคส่วนในการ “รวมไทยสร้างชาติ” ภายใต้วิกฤตินี้ เราจะฟันฝ่าไปด้วยกัน “วันนี้เราต้องรอด วันหน้าเราต้องเข้มแข็งกว่าเดิม” และเดินต่อไปโดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง เพราะเรามีเป้าหมายที่ชัดเจนอยู่ข้างหน้า เรามีเวลาเหลือไม่มากแล้ว เราจึงต้องเร่งฟื้นฟู เรียนรู้ และร่วมมือกันอย่างแข็งขัน”.

อ่านเพิ่มเติม...

Let's block ads! (Why?)




August 07, 2020 at 09:30AM
https://ift.tt/3a0uUSC

เศรษฐกิจติดลบไม่ถึง 10% นายกรัฐมนตรีเทียบไทยดีกว่าหลายชาติที่หดตัว 20-30% - ไทยรัฐ

https://ift.tt/3bS8L8L


Bagikan Berita Ini

0 Response to "เศรษฐกิจติดลบไม่ถึง 10% นายกรัฐมนตรีเทียบไทยดีกว่าหลายชาติที่หดตัว 20-30% - ไทยรัฐ"

Post a Comment

Powered by Blogger.