โครงการเชื่อมโยงสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา(สวนลอยฟ้าเจ้าพระยา:Chao Phraya Sky Park) หรือโครงการปรับปรุงภูมิทัศน์ทางสัญจรบนโครงสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณช่องกลางสะพานพระปกเกล้า ให้เป็นจุดเชื่อมต่อการเดินทางสัญจรระหว่างฝั่งธนบุรีกับฝั่งพระนคร มีจุดชมวิวที่สวยงามกลางแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นการส่งเสริมภูมิทัศน์ย่านกะดีจีน-คลองสาน ซึ่งโครงการดังกล่าวเป็น 1 ในการพัฒนาตามผังแม่บทกรุงเทพมหานคร ซึ่งได้จัดทําการออกแบบรายละเอียดโครงการพัฒนาพื้นที่ที่มีศักยภาพสูงสุดเพื่อก้าวไปสู่ “กรุงเทพฯ250” ในปี 2575
ร.ต.อ.พงศกร ขวัญเมือง โฆษกของกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า ย่านกะดีจีน-คลองสาน เป็นตัวแทนย่านเก่า ประเภทประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรมที่มีศักยภาพสูงสุดในการฟื้นฟู ตามผังแม่บทการฟื้นฟูย่านเมืองเก่า(กรุงเทพฯ250) ซึ่งกรุงเทพมหานคร โดยสํานักการวางผังและพัฒนาเมืองได้ดําเนินการศึกษาไว้เมื่อปี 2558 มีเป้าหมายเพื่อพลิกฟื้นพื้นที่ย่านเมืองเก่าให้น่าอยู่ มีประสิทธิภาพ เป็นมหานครระดับโลกในวาระครบ 250 ปี ในปี 2575 โครงการพัฒนาพื้นที่ย่านกะดีจีน-คลองสาน จึงเป็นต้นแบบของการฟื้นฟูย่านเมืองเก่าประเภทประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรมเก่าแก่ที่ตั้งอยู่ริมน้ำเจ้าพระยา
ด้วยเหตุผล 3 ประการของย่านกะดีจีน – คลองสานมีศักยภาพสูงสุดในการฟื้นฟู ประกอบด้วย 1.เป็นหนึ่งในย่านประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรมเก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของกรุงเทพมหานคร ที่ยังคงหลงเหลือมรดกทางวัฒนธรรมทั้งที่จับต้องได้และไม่ได้ ที่ทรงคุณค่าจํานวนมาก ตลอดจนตั้งอยู่บนทําเลที่ตั้งยุทธศาสตร์ (Strategic location) 2.มีระดับของต้นทุนทางสังคมสูง (High level of social capital) เมื่อเปรียบเทียบกับย่านเก่าทั่วไปของกรุงเทพมหานครตลอด จนมีสถาบันหลักทางสังคม (Social institutions) อาทิ บ้าน วัด โรงเรียน ราชการ ตลอดจนผู้นําท้องถิ่นและประชาชนที่มีความกระตือรือร้นมีประสบการณ์ และความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการมีส่วนร่วมในการฟื้นฟูย่านเก่า (Active citizens) เป็นอย่างดี
จึงทําให้มีศักยภาพในการผลักดันและขับเคลื่อนโครงการฟื้นฟูเมืองให้สําเร็จเป็นรูปธรรม และ 3.เป็นหนึ่งในเขตย่านเก่าที่กําลังเผชิญกับการแนวโน้มการเปลี่ยนแปลง โดยมีปัจจัยขับเคลื่อนคือการพัฒนาและเปิดใช้ระบบขนส่งมวลชนทางราง การเร่งพัฒนาภาค อสังหาริมทรัพย์บนพื้นที่ริมน้ำตลอดจนการเจริญเติบโตของธุรกิจการท่องเที่ยวและการบริการ จึงทําให้เห็นปัจจัยของความไม่ยั่งยืนและความเปลี่ยน แปลงในช่วงระยะเวลาอันใกล้นี้
โดย สำนักวางผังและพัฒนาเมือง จัดทําผังแม่บทการอนุรักษ์ฟื้นฟูย่านกะดีจีน –คลองสาน โดยใช้เทคนิคการมองภาพอนาคต และกระบวนการร่วมหารือในการดําเนินการ ซึ่งได้กําหนดวิสัยทัศน์ของย่าน คือ "ย่านกะดีจีน-คลองสาน สู่ย่านประวัติศาสตร์ริมน้ำสร้างสรรค์เป็นพิพิธภัณฑ์มีชีวิต มีวิสาหกิจชุมชน ปรุงปนความหลากหลาย" เพื่อการพัฒนาย่านกะดีจีน – คลองสาน 5 ด้าน คือ 1. ด้านที่อยู่อาศัย เน้นการอนุรักษ์ฟื้นฟูที่อยู่อาศัยที่เป็นชุมชนดั้งเดิมที่มีมรดกวัฒนธรรมและมีการรวมกลุ่มกันทางสังคมอย่างแน่นแฟ้น การฟื้นฟูบูรณะที่อยู่อาศัยแบบผสมผสาน การพัฒนาพื้นที่อยู่อาศัยริมน้ําคุณภาพดี และการพัฒนาที่อยู่อาศัยความหนาแน่นสูงคุณภาพดี
2. ด้านการท่องเที่ยว เน้นแหล่งท่องเที่ยวที่สําคัญในปัจจุบัน แหล่งท่องเที่ยวที่มีศักยภาพด้านเศรษฐกิจสร้างสรรค์ แหล่งท่องเที่ยวที่มีศักยภาพเป็นแหล่งท่องเที่ยวใหม่ทางวัฒนธรรม และพื้นที่มีศักยภาพพัฒนาเป็นพื้นที่บริการรองรับการท่องเที่ยว 3. ด้านเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ประกอบด้วย พื้นที่พักอาศัย ทํางาน ผลิตสินค้าและบริการ พื้นที่รองรับที่อยู่อาศัยใหม่ พื้นที่ทํางาน ผลิตสินค้าและบริการ พื้นที่แสดงงานและพบปะของผู้คนในด้านเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ผังแม่บทการอนุรักษ์ฟื้นฟูย่านกะดีจีน – คลองสาน
4. ด้านมรดกวัฒนธรรมและวิสาหกิจชุมชน เพิ่มพื้นที่ที่สนับสนุนเศรษฐกิจของผู้คนในพื้นที่ แบ่งเป็นพื้นที่ย่านการค้าดั้งเดิมที่มีอยู่ในปัจจุบัน และพื้นที่ย่านการค้าใหม่ที่ส่งเสริมให้มีแต่มีรูปแบบที่แตกต่างออกไปโดยอาศัยมรดกทางวัฒนธรรมมาต่อยอด และ 5. ด้านพื้นที่สาธารณะร่วมของหลากวัฒนธรรม ที่แสดงความหลากหลายของพื้นที่สาธารณะในย่านในอนาคต
สำหรับแผนการพัฒนาย่านกะดีจีน-คลองสานในโครงการต่อไป คือ โครงการปรับปรุงภูมิทัศน์ทางเดินริมน้ำย่านกะดีจีน ซึ่งเป็นทางเดินเลียบแม่น้ำเจ้าพระยา ความยาวประมาณ 650 เมตร เป็นการพัฒนาทางเดินเลียบแม่น้ำเดิมซึ่งมีอยู่แล้ว ไม่ได้มีโครงสร้างใหม่รุกล้ำไปในแม่น้ำแต่อย่างใด โดยจะเริ่มดำเนินโครงการได้ในปีงบประมาณ 2563-2564 คาดว่าจะแล้วเสร็จปลายปี 2564 และใช้ระยะเวลาก่อสร้างประมาณ 360 วัน
โดยพื้นที่การดำเนินโครงการปรับปรุงภูมิทัศน์ทางเดินริมน้ำย่านกะดีจีนบริเวณทางเดินริมน้ำเดิม จะเริ่มตั้งแต่ช่วงบริเวณศาลเจ้าเกียนอันเกง จนถึงสถานีวัดระดับน้ำคลองสะพานพลอย ซึ่งโครงการดังกล่าวจะสามารถเชื่อมโยงย่านกะดีจีน สวนลอยฟ้าเจ้าพระยา และคลองโอ่งอ่างเข้าด้วยกัน เป็นอีกหนึ่งการเชื่อมโยงการเดินทางและแหล่งท่องเที่ยวในฝั่งธนบุรีและฝั่งพระนครเข้าด้วยกัน รวมถึงยังเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ในพื้นที่ 2 ฝั่งด้วย.
July 20, 2020 at 10:30AM
https://ift.tt/2ZLDEbQ
พัฒนา'กะดีจีน-คลองสาน'สู่กรุงเทพฯ250 เชื่อมธนบุรี-พระนคร - เดลีนีวส์
https://ift.tt/3bS8L8L
Bagikan Berita Ini
0 Response to "พัฒนา'กะดีจีน-คลองสาน'สู่กรุงเทพฯ250 เชื่อมธนบุรี-พระนคร - เดลีนีวส์"
Post a Comment