Search

โควิด-19 : จากหนูสู่ลิง วัคซีนอาร์เอ็นเอต้านโควิด-19 ของจุฬาฯ ได้ผลดีอย่างไรก่อนทดสอบในมนุษย์ - บีบีซีไทย

dihyangbagus.blogspot.com

AFP/Getty Images

การพัฒนาวัคซีนโควิด-19 ของศูนย์วิจัยวัคซีน คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และหน่วยงานภาคี ก้าวหน้าไปอีกขั้นหลังพบผลทดสอบวัคซีนในลิงได้ผลดี เตรียมทดสอบในอาสาสมัครในช่วงเดือน ต.ค.-ธ.ค. นี้

ผอ.บริหารโครงการพัฒนาวัคซีนโควิด-19 ศูนย์วิจัยวัคซีน คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวว่า หากการทดสอบเป็นไปตามแผนและผ่านการรับรอง คาดว่าคนไทยจะได้ใช้วัคซีนตัวนี้ในช่วงไตรมาสที่ 3 หรือ 4 ปีหน้า

วัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ชนิด mRNA ที่มีชื่อว่า "CU-Cov19" เป็นการพัฒนาร่วมกันระหว่างโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศูนย์วิจัยวัคซีน คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย

ปัจจุบันวัคซีนที่อยู่ในขั้นวิจัยทดลองในสัตว์ทดลองขนาดเล็กและลิงมีอยู่ราว 130 ชนิด ทั่วโลก

ฝ่ายประชาสัมพันธ์ รพ.จุฬาลงกรณ์

ขณะที่วัคซีนป้องกันโควิด-19 ที่มีการวิจัยในมนุษย์ในหลายประเทศทั่วโลกขณะนี้มีอยู่ประมาณ 18-20 ชนิด อย่างน้อย 4 ชนิด เป็นเทคโนโลยี mRNA ซึ่งเป็นเทคโนโลยีตัวเดียวกับที่ศูนย์วัคซีน จุฬาฯ ทดลองอยู่ เพียงแต่มีเนื้อวัคซีนคนละชนิดกัน

วัคซีนชนิด mRNA ผลิตจากสารพันธุกรรมของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่บางส่วน ซึ่งเมื่อชิ้นส่วนของสารพันธุกรรมนี้ถูกฉีดเข้าไปในร่างกาย จะถูกเปลี่ยนเป็นโปรตีนเพื่อกระตุ้นให้เกิดการสร้างภูมิคุ้มกันชนิดแอนติบอดีที่ช่วยต่อสู้กับไวรัสได้

ผศ.ดร.ชุติธร เกตุลอย หนึ่งในทีมวิจัยวัคซีน กล่าวว่า การตรวจสอบประสิทธิภาพจะวัดปริมาณของระดับของแอนตีบอดีที่ช่วยยับยั้งได้ในสัตว์ทดลอง ผลการทดสอบประสิทธิภาพของวัคซีนชนิด mRNA ในหนู พบว่า "หลังจากที่หนูได้รับวัคซีนเข็มแรก ภูมิคุ้มกันขึ้นมาในระดับ 100 หลังจากนั้นฉีดวัคซีนเข็มที่ 2 เป็นเวลาหนึ่งเดือน และเจาะเลือดมาตรวจหลังจากนั้นสองสัปดาห์พบว่าระดับภูมิคุ้มกันขึ้นมาสูงระดับ 40,000 เพิ่มมากกว่า 400 เท่าตัว"

เมื่อเห็นผลจึงดำเนินการต่อในสัตว์ทดลองที่ใหญ่ขึ้น คือ ลิง ซึ่งมีการทดลองที่ทำแบบควบคู่กันไป ทางศูนย์เริ่มการฉีดวัคซีนในลิงเข็มแรกที่ศูนย์ไพรเมทแห่งชาติ จ.สระบุรี เมื่อวันที่ 23 พ.ค. และฉีดกระตุ้นซ้ำเป็นเข็มที่สองห่างกัน 1 เดือน ผลการทดสอบประสิทธิภาพพบว่าเป็นผลดีหลังจากฉีดกระตุ้นด้วยวัคซีนเข็มที่สอง

"วัคซีนเข็มแรก กระตุ้นภูมิคุ้มกันในลิงได้ในระดับที่น่าพอใจ ในวันที่ 15 มิ.ย. แต่หลังจากฉีดกระตุ้นวัคซีนเข็มที่สองเมื่อวันที่ 30 มิ.ย. พบว่าระดับภูมิคุ้มกันเพิ่มขึ้นสูงเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะกลุ่มที่ได้รับวัคซีนที่มีความเข้มข้นสูง หลังจากที่ลิงได้รับการฉีดกระตุ้น จากตอนแรกที่กระตุ้นได้ระดับ 10 ระดับ 100 ตอนนี้ขึ้นมาสู่ระดับ 5,000 ถือว่าเป็นระดับที่ค่อนข้างสูงมาก"

ศ.นพ.เกียรติ รักษ์รุ่งธรรม ผอ.บริหารโครงการพัฒนาวัคซีนโควิด-19 ศูนย์วิจัยวัคซีน คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่าผลทดสอบการยับยั้งเชื้อในลิงสูงกว่าระดับเกณฑ์ยับยั้งไวรัส ลิงสามารถคุมเชื้อได้อย่างมีนัยยะสำคัญ ทั้งในปอดและจมูกเชื้อลดลงไปเยอะ

ผลการตรวจเลือดลิงหลังจากได้รับการฉีดวัคซีน CU-Cov19 กระตุ้นเข็มที๋สอง ที่ศูนย์วิจัยไพรเมทแห่งชาติ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นเวลาสองสัปดาห์ พบว่าลิงที่ได้รับวัคซีนทุกตัวมีระดับภูมิคุ้มกันที่เพิ่มขึ้น โดยมีระดับภูมิคุ้มกันที่สูงมากในกลุ่มที่ได้รับวัคซีนโดสสูง นอกจากนี้ยังพบว่าลิงทุกตัวมีสุขภาพแข็งแรง และไม่มีผลข้างเคียงจากการได้รับวัคซีน

"โดยทฤษฎีแล้วจากหนูไปสู่ลิง ภูมิจะตกไปประมาณ 10-20 เท่า เพราะสัตว์มีขนาดตัวไม่เท่ากันและระบบภูมิคุ้มกันตอบโต้แรงต่างกัน ส่วนคนก็ลดจากลิงไปอีก อาจจะประมาณสัก 5-10 เท่า"

ศ.นพ.เกียรติ รักษ์รุ่งธรรม

ทดสอบเดือน ต.ค. คาดได้ใช้ปีหน้า

ศ.นพ.เกียรติ บอกว่าอย่างเร็วสุดในการเปิดรับอาสาสมัครทดสอบวัคซีน คือ กลางเดือน ก.ย. หรือปลายเดือน หลังจากได้รับการรับรองจากองค์การอาหารและยา (อย.) และคณะกรรมการจริยธรรมของคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ

ระหว่างนี้ได้ดำเนินการเลือกวัคซีนในขนาดที่เหมาะสมและปลอดภัย

เพื่อให้โรงงานผลิตสองแห่งในสหรัฐอเมริกาและแคนาดา ผลิตตัวเนื้อวัคซีนและตัวเคลือบ คาดว่าจะแล้วเสร็จในช่วงเดือน พ.ย.

สำหรับไทม์ไลน์ของการทดสอบกับอาสาสมัคร ต.ค.- ธ.ค. ทดสอบทางคลินิกระยะที่หนึ่ง กับอาสาสมัคร จำนวน 100 คน เป็นผู้ที่มีอายุ 18-60 ปี ระยะถัดไป ธ.ค. 2563 - มี.ค. 2564 ทดสอบทางคลินิกระยะที่สอง กับอาสาสมัคร จำนวน 500-1,000 คน

ผอ.บริหารโครงการพัฒนาวัคซีนโควิด-19 บอกอีกว่าจากขั้นตอนทั้งหมดได้วางแผนการผลิตไว้ที่ 10,000 โดส ซึ่งจะใช้ได้ประมาณ 5,000 คน หากทุกอย่างเป็นไปตามแผนคาดว่าคนไทยจะได้ใช้วัคซีนตัวนี้ในช่วงไตรมาสที่ 3 หรือ 4 ในปี 2564

Let's block ads! (Why?)




July 12, 2020 at 06:07PM
https://ift.tt/2C2n3Hx

โควิด-19 : จากหนูสู่ลิง วัคซีนอาร์เอ็นเอต้านโควิด-19 ของจุฬาฯ ได้ผลดีอย่างไรก่อนทดสอบในมนุษย์ - บีบีซีไทย

https://ift.tt/3bS8L8L


Bagikan Berita Ini

0 Response to "โควิด-19 : จากหนูสู่ลิง วัคซีนอาร์เอ็นเอต้านโควิด-19 ของจุฬาฯ ได้ผลดีอย่างไรก่อนทดสอบในมนุษย์ - บีบีซีไทย"

Post a Comment

Powered by Blogger.