ทายท้าวิชามาร : ใบตองแห้ง
ขึ้นต้นอย่างนี้ อย่าว่าเข้าข้าง NGO ตะพึดตะพือ เพราะตอนเรียกร้องให้แบน 3 สารเคมีการเกษตร ก็สวนกระแส “ชนชั้นพาราควอต” จนโดนด่ามาเยอะเลย
ครั้งนี้ ในกระแสต้าน CPTPP ก็มีที่น่ารำคาญเหมือนกัน เช่นบางคนดราม่า ตีปี๊บว่าปลูกมะม่วงหน้าบ้านมายี่สิบปี จู่ ๆ จะมีนายทุนต่างชาติมาตู่ละเมิดสิทธิบัตรพันธุ์พืช ปัดโธ่ มันไม่ถึงขนาดนั้นหรอก
พูดกันแฟร์ ๆ CPTPP มีทั้งข้อดีข้อเสีย กระทรวงพาณิชย์ชี้ว่า ถ้าเราเข้าร่วม จะช่วยให้จีดีพีขยายตัว 0.12% คิดเป็นมูลค่า 13.32 พันล้านบาท การลงทุนขยายตัว 5.14% หรือ 148.24 พันล้านบาท แต่ถ้าไม่เข้าร่วมจะเสียโอกาส เมื่อเทียบกับเวียดนามและสิงคโปร์ ซึ่งในปี 2558-2562 ส่งออกไปยังประเทศสมาชิก CPTPP เพิ่มขึ้นเฉลี่ย 7.85% และ 9.92% ตามลำดับ ไทยเพิ่มขึ้นเฉลี่ยเพียง 3.23% มูลค่าเงินลงทุนไหลเข้าปี 2562 เวียดนาม 16,940 ล้านเหรียญสหรัฐ สิงคโปร์ 63,934 ล้านเหรียญสหรัฐ ไทยมีเพียง 9,010 ล้านเหรียญสหรัฐ
ยกตัวเลขอย่างนี้ก็ตาโต แต่มีปัจจัยอื่นด้วยหรือเปล่า ที่ทำให้เราส่งออกได้น้อยลง ที่ทำให้เขาหนีไปลงทุนเวียดนามมากกว่า แม้ยอมรับว่ามี CPTPP คงดีขึ้น นอกจากนี้ยังมีข้อสังเกตด้วยว่า จากข้อตกลงการค้าเสรีต่าง ๆ ที่เราทำมา ภาคส่งออกของไทยใช้ประโยชน์เพียงแค่ 30% และยังกระจุกตัวอยู่ในสินค้าไม่กี่รายการจาก 2,000 รายการ
ข้อเสียของ CPTPP มีอะไรบ้าง ไปหาอ่านได้ FTA Watch เผยแพร่ข้อมูลไว้มากมาย บางคนก็มองว่า ซ้ำ ๆ เดิมนั่นแหละ สิทธิบัตรยา จะทำให้ยาต้นแบบผูกขาดนานขึ้น ทำ CL ยาไม่ได้ สิทธิบัตรพันธุ์พืช จะเก็บเมล็ดพันธุ์มาปลูกไม่ได้ ปัดโธ่ ก็เขาอุตส่าห์ลงทุนลงแรงวิจัย เป็นประโยชน์ต่อการเกษตร สาธารณสุข จะไม่เคารพลิขสิทธิ์เขาได้อย่างไร (บลา ๆ ๆ)
อย่างไรก็ดี หากศึกษาให้ถี่ถ้วน จะพบว่าในแง่กฎหมาย ข้อตกลงเรื่องสิทธิบัตรตีความได้กว้างขวาง คลุมเครือ เมื่อลงสู่การปฏิบัติ จะเกิดการฟ้องร้องได้ง่ายมาก แม้แต่เรื่องจุกจิก ลองคิดเปรียบเทียบง่าย ๆ ว่า ระหว่างชาวไร่ชาวนา กับบริษัทยักษ์ใหญ่ ใครได้เปรียบทางกฎหมาย
อย่างลิขสิทธิ์หนังเพลงที่บอกว่า ต้องเคารพผู้สร้างสรรค์ผลงาน เราก็เห็นข่าวการ “ล่อซื้อ” แล้วไปไล่จับปรับคนเล็กคนน้อยน่าสะเทือนใจ ปัญหาสิทธิบัตรยา พันธุ์พืช จะร้ายกว่านั้นอีก แถม CPTPP ยังเปิดให้ต่างชาติเข้ามาวิจัยและพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่น สมุนไพร โดยไม่ต้องถ่ายทอดเทคโนโลยีให้ไทย
บางคนบอกว่าต่อรองไม่ได้หรือ ตรงนี้แหละประเด็นสำคัญ CPTPP ต่อรองไม่ได้ แม้แต่ตัวอักษรเดียว เพราะเป็นข้อตกลงที่เขาทำกันมา 11 ประเทศ ถ้าเราอยากเข้า ก็ต้องยอมรับทุกตัวอักษร ทำได้อย่างเดียวคือขอผ่อนผัน สมมติผ่อนผันเรื่องพันธุ์พืช 3 ปี
ไม่เหมือนการเจรจา FTA ที่เราจะทำกับ EU หรือที่เคยทำกับญี่ปุ่น เราไม่ต้องการข้อไหน อยากแก้ไขข้อความตรงไหน ก็เจรจากันได้ แต่ CPTPP คุณไม่มีสิทธิเจรจา มีแต่รับหรือไม่รับเท่านั้น ถ้ารับก็จะเข้าไปอยู่ในข้อผูกพันหลายประการที่เราไม่เคยทำมาก่อน
การจะเข้า CPTPP จึงต้องชั่งน้ำหนักให้ชัดเจน ไม่ใช่เห็นแต่ทางได้ หรือเห็นภัยเศรษฐกิจ วิบัติแน่ ต้องหาลู่ทางส่งออก ดึงดูดการลงทุน
ยิ่งกว่านั้น ในทางการเมือง นี่จะเป็นระเบิดลูกใหญ่ของรัฐบาล ที่กำลังง่อนแง่นเสียด้วย เพราะกระแสคัดค้านครั้งนี้ร้อนแรงกว่าครั้งไหน ๆ ขึ้นแฮชแท็กอันดับหนึ่งไปหลายครั้ง หน่วยงานที่เป็นทางการ เช่น องค์การเภสัชกรรม ก็ทำหนังสือโต้แย้ง
จะบอกว่าแรงทั้งสองข้างก็ไม่ผิด เพราะภาครัฐและภาคธุรกิจ กำลังหน้ามืดจากวิกฤติโควิด ดึงดันอยากเข้าให้ได้
CPTPP จึงเป็นระเบิดลูกใหญ่ แม้ตอนนี้ยังไม่ถึงจุด แต่จะแรงขึ้นพร้อมกับปัจจัยอื่น ๆ
June 17, 2020 at 06:20AM
https://ift.tt/3hzmgh4
CPTPP ถอยดีกว่า - ข่าวหุ้นธุรกิจออนไลน์
https://ift.tt/3bS8L8L
Bagikan Berita Ini
0 Response to "CPTPP ถอยดีกว่า - ข่าวหุ้นธุรกิจออนไลน์"
Post a Comment